ทองคำ 2

เดือนที่แล้ว ราคา ทองคำ สูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 63,000 บาท ต่อออนซ์ ถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ จริงอยู่ที่ผู้ซื้อ-ขายทองคำมีส่วนทำให้ราคาสูงขึ้น แต่นี่ก็ทำให้หลายคนสงสัยว่าแร่ล้ำค่านี้กำลังจะหมดไปจากโลกหรือเปล่า

ทองคำเป็นที่นิยมสำหรับผู้ลงทุน เป็นสัญลักษณ์ของฐานะ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด

แต่ทองคำก็เป็นทรัพยากรที่วันหนึ่งจะต้องหมดไป ไม่เหลือให้คนทำเหมืองแร่ได้อีก

จุดพีคของ ทองคำ

ผู้เชี่ยวชาญด้านทองคำมีคำว่า “peak gold” ซึ่งหมายถึง “จุดพีค” ที่เราสามารถขุดแร่ทองได้มากที่สุดในแต่ละปี บางคนเชื่อว่าเราได้มาถึงจุดนั้นแล้ว

สภาทองคำโลก (World Gold Council) ระบุว่า ปี 2019 มีการขุดแร่ทองคำได้ 3,531 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปี 2018 1% ถือว่าต่ำลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2008

ฮานาห์ แบรนด์สแตทเตอร์ โฆษกสภาทองคำโลก บอกว่า อาจจะเร็วไปที่จะสรุปว่าโลกไม่สามารถขุดทองคำได้มากกว่านี้แล้วในแต่ละปี แม้ว่าปีต่อ ๆ จากนี้ อาจผลิตทองได้น้อยลงเพราะว่าแร่ทองคำในแหล่งสำรองเริ่มหมดไป และไม่มีการค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ

แม้ว่าจะถึง “จุดพีค” ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ปีต่อ ๆ จากนี้ การผลิตทองคำก็จะไม่ได้น้อยลงไปอย่างน่าตกใจ แต่จะค่อย ๆ ลดลงในช่วง 2-3 ทศวรรษที่จะมาถึง

เหลือ ทองคำ อยู่ในโลกแค่ไหน

บริษัทเหมืองทองต่าง ๆ ประเมินปริมาณแร่ทองคำที่เหลืออยู่ในดินสองวิธีด้วยกัน

หนึ่ง แหล่งสำรอง คือแร่ทองคำในบริเวณที่คุ้มทุนที่จะทำเหมืองแร่เมื่อพิจารณาราคาทองคำในปัจจุบัน

สอง แหล่งทรัพยากร คือแร่ทองคำในที่ ๆ อาจจะคุ้มทุนที่จะทำเหมืองแร่เมื่อสืบค้นหาข้อมูลเพิ่ม หรือว่าราคาทองคำสูงขึ้น

เราสามารถคำนวณปริมาณแร่ทองคำที่เหลืออยู่ในแหล่งทรัพยากรได้แม่นยำมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US Geological Survey) ระบุว่า ประเมินการณ์ว่าโลกเหลือแร่ทองคำในพื้นดินอยู่ราว 50,000 ตัน

พูดให้เห็นภาพก็คือ ถึงตอนนี้ มนุษย์เราได้ขุดแร่ทองคำไปแล้วราว 190,000 ตัน อย่างไรก็ดี บางฝ่ายก็ประเมินตัวเลขนี้แตกต่างกันออกไป

เมื่อดูจากตัวเลขประเมินนี้ เรายังเหลือทองคำให้ขุดอีกราว 20% แต่ตัวเลขนี้ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หรือปัญญาประดิษฐ์ ก็อาจจะลดกระบวนการและลดต้นทุนการทำเหมืองแร่ทองได้เช่นกัน ขณะนี้มีการใช้หุ่นยนต์ที่เหมืองแร่ทองคำบางแห่งแล้ว และคาดว่าจะกลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานในการสำรวจเหมืองในอนาคต

ทองคำ 1

แหล่ง ทองคำ ที่ใหญ่ที่สุด

แอ่งที่ราบวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand Basin) ในแอฟริกาใต้เป็นแหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 30% ของทองคำทั้งหมดที่เคยถูกขุดขึ้นมา

เหมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เหมืองมะโปเน็งในแอฟริกาใต้ เหมืองซูเปอร์พิต และนิวมอนต์ บอดดิงตัน ในออสเตรเลีย และเหมืองกราสเบิร์กในอินโดนีเซีย และอีกหลายแห่งในรัฐเนวาดาของสหรัฐฯ

ขณะนี้ จีนเป็นผู้ทำเหมืองแร่ทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่แคนาดา รัสเซีย และเปรู ก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่เช่นกัน

กิจการร่วมในนาม เหมืองทองเนวาดา (Nevada Gold Mines) ในรัฐเนวาดา ซึ่งบริษัทแบร์ริค โกลด์(Barrick Gold) ถือหุ้นใหญ่ ถือว่าเป็นเครือข่ายเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยพวกเขาผลิตทองราว 3.5 ล้านออนซ์ต่อปี

ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า แม้จะพบแหล่งทองคำใหม่เรื่อย ๆ แต่ที่เป็นขนาดใหญ่จะพบได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นผลให้การผลิตทองคำส่วนใหญ่มาจากเหมืองเก่า ๆ ที่มีการขุดทองคำกันมาหลายทศวรรษแล้ว

ขุดทองคำยากขึ้นไหม

การขุดเหมืองขนาดใหญ่ต้องใช้เงินทุน เครื่องจักร และความเชี่ยวชาญมาก ที่จะขุดบนหรือภายใต้พื้นผิวดิน

ทุกวันนี้ การทำเหมืองราว 60% มาจากการขุดเหมืองบริเวณพื้นผิว ส่วนที่เหลือเป็นใต้พื้นผิว

รอส นอร์แมน จากเว็บไซต์ MetalsDaily.com บอกว่า การขุดเหมืองยากขึ้นสำหรับเหมืองใหญ่ ๆ และใช้ต้นทุนต่ำ อย่างในแอฟริกาใต้ที่ขุดจนทองใกล้จะหมดขึ้นเรื่อย ๆ

“ในทางตรงกันข้าม เหมืองทองในจีนเล็กกว่า ดังนั้นก็จะต้องใช้ต้นทุนสูงกว่า” นอร์แมน อธิบาย

ภูมิภาคที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจก็มีอย่างในภูมิภาคฝั่งตะวันตกของแอฟริกาซึ่งไม่ค่อยมีเสถียรภาพทางการเมือง

ราคาทองคำสูงเป็นประวัติการณ์

แม้ราคาทองคำจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือน ส.ค. แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำเหมืองมากขึ้นด้วย

ที่จริงแล้ว ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าที่ปริมาณการผลิตจะส่งผลต่อราคาทองคำ

นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังเกิดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วย บางเหมืองต้องปิดทำการ ราคาทองคำสูงขึ้นเพราะนักลงทุนมองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงที่สุดในช่วงที่เศรษฐกิจสั่นคลอน


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ปวดหัว แบบไหนอันตราย ควรไปพบแพทย์
สุนัขในฮ่องกงติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่
หยุดยาว! แรชฟอร์ด บาดเจ็บกล้ามเนื้อต้องหยุดรักษาหลายสัปดาห์
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.insidetelephony.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bbc.com